ทีมเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าท่อช่วยหายใจ
ใส่เข้าหลอดลมได้อย่างถูกต้อง
.
1. ตัวผู้ใส่เอง มองเห็นเส้นเสียงคนไข้
แล้วก็ใส่ท่อช่วยหายใจผ่านลงไป
แต่ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวผู้ใส่ที่จะรู้ว่ามันเข้าหลอดลม
จริงไหม?
.
2. ฟังปอดทั้งสองข้างว่า แรงลมจากการช่วยหายใจ
เข้าไปปอดทั้งสองข้างไหม
แต่อุปสรรคคือ นอกโรงพยาบาล เสียงภายนอกดัง
เสียงไซเรน เสียงคนตะโกน เราฟังปอดไม่ได้ยินชัด
.
3. ฟังตำแหน่งกระเพาะ ถ้ามีเสียงลมโครกคราก
ท่อช่วยหายใจก็ไม่น่าจะอยู่ในหลอดลม
แต่อุปสรรค ก็เสียงรอบตัวมันดัง เราอาจไม่ได้ยินครับ
.
4. อุปกรณ์ตัวช่วยที่เป็นมาตรฐาน เรียกว่า
เอนไท ด้อล ซีโอทู ช่วยเราได้ครับ
ทำงานกู้ชีพขั้นสูง ควรหาติดไว้ครับ
.
กลไกคืออะไร ง่ายมาก
ผมถามว่า รู้จักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไหมครับ
ก๊าซนี้มาจากไหน พอทราบไหมครับ
มาจากการหายใจออกไงครับ
.
ถ้าเราใส่ท่อช่วยหายใจเข้าหลอดลมจริง
พอคนไข้หายใจออก
ก็จะต้องมีก๊าซคาร์บอนออกไซด์ออกมาแน่นอน
เครื่องมือขนาดเล็กนี้จะตรวจจับก๊าซ
และแปลผลเป็นตัวเลขครับ
.
ตรงกันข้าม ถ้าเราใส่ท่อช่วยหายใจเข้าหลอดอาหาร
หรือระหว่างบนรถพยาบาล ท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด
ลองนึกตาม จะยังไงนะ?
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ก็จะหายไป
ค่าในเครื่องจะลดต่ำลง อาจเป็นศูนย์ก็ได้
.
ถ้าทีมเราดูแลคนไข้บนรถพยาบาล
ก็ต้องมาตรวจสอบแล้ว เอ๋ เกิดอะไรขึ้น
ท่อช่วยหายใจหลุดเหรอ
หรือคนไข้หัวใจหยุดเต้นไปแล้ว
.
เพราะคนที่หัวใจหยุดเต้นไปแล้ว
เขาก็ไม่หายใจออกไงครับ (ก็เหมือนตายแล้ว)
มันก็ไม่มีคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา
.
ปัจจุบันเครื่อง เอนไทด้อล มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก
ทีมฉุกเฉินขึ้นสูง ควรหามาใช้ครับ
มันช่วยได้เยอะ
.
โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ วิชาชีพ พาราเมดิก
และ พยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉิน
สามารถใส่ท่อช่วยหายใจคนไข้นอกโรงพยาบาลได้
เพื่อให้คนไข้ไม่ตายบนถนน
เครื่องตรวจว่าใส่ท่อช่วยหายใจเหมาะสมไหม
จึงจำเป็นอย่างมากครับ
.
#ห้องฉุกเฉินต้องรู้
Comentarios