top of page

ช่วยคนไฟดูดในที่เปียกน้ำอย่างไร? ไม่ให้ไฟดูดเรา

เคสฝนตกไฟดูด...ช่วยอย่างไร?

มีคำถามส่งอินบ็อกมาเยอะมากครับ

ในสถานการณ์ยอมรับว่ายากมาก

น้ำท่วมจนไม่มีพื้นที่แห้งเลย

ผู้ช่วยเหลืออาจถูกไฟดูดไปด้วย

ถ้าช่วยช้าไป คนไข้อาจเสียชีวิต

.

หลักการช่วยคนถูกไฟดูดทั่วๆไป คือ

1. เราต้องปลอดภัย ไม่เพิ่มผู้บาดเจ็บ

2. ตะโกนขอความช่วยเหลือ

3. ปิดสวิตซ์ไฟ หรือคัทเอาท์

.

4. ถ้าไม่รู้จะปิดสวิตซ์ที่ไหน

หรือไฟรั่วจากเสาไฟ

ต้องหาไม้ยาว หรือเก้าอี้ไม้ ฉนวนกันไฟ

.

เขี่ยลากสายไฟพ้นจากตัวผู้ป่วย

หรือเขี่ยลากผู้ป่วยออกมา

.

ยืนบนพื้นที่แห้ง ยืนบนแผ่นยาง

หรือหากระดาษหนังสือพิมพ์มาปู

สวมรองเท้าพื้นทำด้วยยาง

ไม่ยืนเท้าเปล่า

.

5. ช่วยได้แล้ว ถ้าไม่หายใจ

"ต้องปั๊มหัวใจ" CPR

กดหน้าอกและเป่าปากช่วยหายใจ

.

6. เคสหัวใจหยุดเต้นเพราะไฟดูด

ทราบไหมครับ จริงๆหัวใจยังเต้นอยู่ครับ!

แต่หัวใจห้องล่างเต้นพริ้ว-ระรัว

ส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ได้

.

การปฐมพยาบาลต้องใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ

หรือ เออีดี AED ช็อตไฟฟ้าครับ

.

ทีมกู้ชีพต้องรีบติดเครื่องเออีดี

กดหน้าอกอย่างเดียวอาจช่วยคนไข้ไม่ได้นะครับ

.

ถ้าเคสฟ้าผ่า ส่วนใหญ่หัวใจหยุดเต้นสมบูรณ์

แต่ก็ควรติดเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจทุกเคสครับ

.

7. ถ้ารู้สึกตัวแล้ว แต่ดูสลึมสลือ

ให้จัดท่านอนตะแคงแบบพักฟื้น

ป้องกันสำลัก ระหว่างรอความช่วยเหลือ

.

แล้วสถานการณ์น้ำท่วมจะทำอย่างไรดี?

.

ไม่มีคำตอบที่ดีที่สุดครับ...

มีแต่หลักการให้ยึดแล้วประยุกต์เอาครับ

เราต้องปลอดภัย-ปิดสวิตซ์-ไม้เขี่ย-รองเท้ายาง

.

ด้านหลังรั้วเป็นสนาม-พื้นแห้ง-ไม่มีน้ำขัง

ยืนบนสนาม สวมรองเท้ายาง

หาด้ามไม้ยาว หรือไม้แปรงขัดพื้นห้องน้ำ

สอดผ่านรั้ว...

เขี่ยคนไข้-ให้พ้นออกมา

.

หลักการเดียว คือ เราต้องปลอดภัย

ไม่เพิ่มผู้บาดเจ็บ หากไม่มั่นใจ

อย่าลุย ให้รอความช่วยเหลือครับ

.

ผมเคยเจอคนไข้มาห้องฉุกเฉิน

ถูกไฟดูดคู่กัน คนช่วยโดนไฟดูด

นอนไอซียู เจอบ่อยครับ

.

เคสนี้ยากจริงๆครับ

ผู้อ่านเคยมีประสบการณ์ช่วยคนถูกไฟดูด

หรือมีไอเดียช่วยปฐมพยาบาลไหมครับ?

รออ่านครับ...

.

ถึงเวลาที่โรงเรียนควรเน้นสอน

ปั๊มหัวใจ-กู้ชีพพื้นฐาน-ปฐมพยาบาล

อย่างจริงจังซะที!

.

หัวใจห้องล่างเต้นพริ้ว = Ventricular Fibrillation

#ปั๊มหัวใจต้องรู้ อ่านบทความย้อนหลังได้นะครับ

ไม่ซีเรียสครับ คลิ๊กมาดูรูปที่ผมวาดเองก็พอครับ 🙂

แล้วจะรักเพจนี้มากขึ้นครับ

.

1. สถานการณ์ไม่ปลอดภัย อย่าเพิ่งลุย

.

2. ปั๊มหัวใจ ยังต้องเป่าปากอยู่ไหม?

.

3. กดหน้าอก ซี่โครงหัก ตับแตกได้จริงหรือ?

.

4. ยังต้องคลำชีพจรที่คออยู่ไหม?

แล้วรู้ได้ไงว่าใครควรปั๊มหัวใจ

.

5. ฟื้นแล้วต้องจัดท่าป้องกันสำลักนะครับ

.

6. เด็กทารกกดหน้าอกยังไง?

.

7. เด็กจมน้ำ ช่วยได้แล้ว ให้เป่าปากหรือกดหน้าอก

อันไหนก่อนกันดีครับ?

.

8. เราควรหยุดปั๊มหัวใจเมื่อไหร่ดี?

.

9. บีบแอมบูช่วยหายใจ ใช้มือเดียวหรือสองมือครับ?

.

10. คนไข้ที่มีเครื่องกล่องกระตุ้นหัวใจติดหน้าอกอยู่แล้ว

หัวใจหยุดเต้น เราติดเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ

หรือเออีดี ตรงไหนได้บ้าง?

.

11. นักฟุตบอลล้มลง หมดสติ ไม่หายใจ

ทีมแพทย์ช็อตหัวใจทันที ปั๊มหัวใจยังไง ช่วยด้วย

.

12. เด็กสำลักถุงมือ อย่าล้วง

.

บทความเหล่านี้เขียนเพื่อการศึกษาเท่านั้น

มีทั้งอ้างอิงจากตำราการแพทย์มาตรฐาน

และความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน

ผู้สนใจควรฝึกอบรมกู้ชีพขั้นพื้นฐาน

เพื่อความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยครับ

.

รูปวาดเองโดยห้องฉุกเฉินต้องรู้

(แอดมินพลอยวาด)

บทความโดย พ.เจตพัฒน์

3 views

Comments


bottom of page