มีคำถามสงสัยเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติครับ
เหตุการณ์คือ
1. คนไข้หมดสติ ไม่หายใจ
2. กู้ชีพพื้นฐานทีมแรก เริ่มปั๊มหัวใจ
และติดเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติทันที
ก็ปั๊มหัวใจและทำตามคำสั่งเครื่องไปสักพัก
3. ต่อมามีทีมกู้ชีพขั้นสูงมาถึงพอดี
เป็นจังหวะที่หยุดกดหน้าอกเพื่อเช็คชีพจร
4. ปรากฎว่าคลำชีพจรที่ต้นขาได้ แต่..
5. เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ ให้คำแนะนำ
กดปุ่มช็อตไฟฟ้า
.
คำถามคือ
1. เราควรเชื่อเครื่องมือนี้ไหม?
มีชีพจร แล้วเครื่องแนะนำให้ช็อตไฟฟ้าทำไม
2. หรือเราควรเชื่อการคลำชีพจรของเรา?
และไม่กดปุ่มปล่อยกระแสไฟฟ้า
3. แล้วคลำชีพจรที่ขาหนีบน่าเชื่อถือไหม?
.
น่าสนใจครับ
.
ความเห็นของผมนะครับ
1. เราควรเชื่อถือเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติไหม
- สอบถามแล้วเป็นเครื่องใหม่ครับ
- เครื่องนี้ค่อนข้างแม่นยำ
ถ้าคนไข้มีหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบร้ายแรง
ที่ต้องรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า
เครื่องแม่นยำในการให้คำแนะนำครับ
- ถ้าเราจับตัวคนไข้หรือเขย่าตัวคนไข้ ก็อาจรบกวน
การแปลผลของเครื่องมือได้ครับ
.
ความเห็นคือ คนไข้อาจจะมีหัวใจเต้นผิดจังวะจริงๆ
ที่ต้องรักษาด้วยไฟฟ้าครับ เครื่องถึงได้แนะนำ
.
2. เราเชื่อถือการคลำชีพจรด้วยนิ้วของเราแค่ไหน?
- ผมว่าส่วนใหญ่ปัญหาคือ คลำไม่เจอมากกว่า
เช่น คนไข้มีชีพจรเบามาก แต่คนไข้อ้วน
เราคลำไม่ได้ เราก็เลยแปลผลว่าไม่มีชีพจร
.
ส่วนถ้าคนไข้ไม่มีชีพจรแล้ว แต่เราไปคลำยังไงไม่รู้
ดันรู้สึกได้อะไรตุ๊บๆที่นิ้วเรา โอกาสพลาดมันน้อยครับ
บางผู้เชี่ยวชาญบอกว่า มันคือชีพจรของนิ้วเราเอง
ที่ทำให้เราคิดไปเองครับ แต่ผมว่ามันยากครับ
.
ถ้าบุคคลากรที่ได้รับการฝึกฝนคลำชีพจร
ถ้าคลำได้ ก็น่าเชื่อได้ว่ามีชีพจรจริงครับ
.
3. แล้วคลำชีพจรที่ขาหนีบได้หรือ?
คำแนะนำคือ คลำได้ครับ แต่ต้องเข้าใจปัญหาก่อน
3.1 ความดันโลหิตต้องมากกว่า 70 มิลลิเมตรปรอท
ถึงจะคลำชีพจรที่ขาหนีบได้
ถ้าต่ำกว่านี้ ประสาทสัมผัสนิ้วของเราไม่รู้สึกครับ
3.2 ความดันโลหิตต้องมากกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท
ถึงจะคลำชีพจรที่คอได้ครับ
ถ้าต่ำกว่านี้ เราจะคลำไม่ได้ครับ
.
ด้วยเหตุนี้จึงแนะนำให้คลำชีพจรที่คอครับ
เพราะถ้าคลำแต่ที่ขาหนีบ ถ้าความดันคนไข้แถวๆ
60มิลลิเมตรปรอท เราจะคลำไม่ได้ ทั้งๆที่คนไข้มีชีพจร
.
เอาเป็นว่าเคสตัวอย่างนี้คลำชีพจรได้
.
แล้วเราควรกดปุ่มปล่อยกระแสไฟฟ้าตามที่เครื่องมือ
แนะนำไหมครับ?
.
ผมตอบไม่ได้ครับ ผมไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์
ผมไม่ทราบว่าอะไรที่คาดเคลื่อน ระหว่าง
คนผู้ช่วย-คนไข้เอง-หรือเครื่องมือ
.
แต่มีอีกเหตุการณ์ที่เป็นได้ ถ้าจะวิเคราะห์ตามความรู้
คือ ทอร์ซาด เดอพอย
หัวใจห้องล่างเต้นพลิ้วแบบเป็นกระสวย
หรือ Torsades de Pointes
คลื่นหัวใจที่ผมวาด
คลื่นนี้อาจจะคลำชีพจรได้ครับ แต่หัวใจเต้นเร็วมาก
จนเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงสมองไม่พอ
คนไข้จึงหมดสติครับ
.
แต่หลายครั้ง ทอซาร์ด เดอ พอย ก็คลำชีพจรไม่ได้ครับ
.
การรักษาหัวใจเต้นพลิ้วชนิดทอซาด เดอ พอย
คนไข้มักอาการแย่ หมดสติ
การรักษาต้องใช้ช็อตไฟฟ้ารักษา
และต้องเลือกโหมดพลังงาน ดีฟิบบลิเลชั่น ด้วยครับ
ไม่ว่าจะคลำชีพจรได้ หรือคลำไม่ได้
.
ผมก็คิดว่าเคสตัวอย่างนี้ อาจเป็น ทอซาด เดอ พอย
ก็เป็นได้ คนช่วยเหลือจึงคลำชีพจรได้
และเครื่องแนะนำให้ทำการช็อตไฟฟ้า
.
แต่อย่าเพิ่งเชื่อผมครับ
ผมก็คาดไปตามความรู้ฉุกเฉินที่เป็นได้
.
ในชีวิตจริง ถ้าทีมกู้ชีพขั้นสูงไปถึง
ก็มักจะเปลี่ยนมาติดเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ
ชนิดอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ และแพทย์สั่งการช็อต
ไฟฟ้าหัวใจได้ด้วยตนเอง
แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความล่าช้า การย้ายคนไข้
ต้องไม่ขัดขวางกันด้วยครับ
.
มีคำถาม ก็เลยเอามาเล่าให้ฟัง
ผมว่าน่าสนใจ และได้เรียนไปด้วยครับ
.
บทความเพื่อการศึกษาเท่านั้น
ไม่ได้มีเจตนาจำเพาะหรือวิเคราะห์เหตุการณ์ใด
ไม่สามารถนำไปอ้างอิงได้ครับ
โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มครับ
Comments