top of page

การดูแลคนไข้อุบัติเหตุนอกโรงพยาบาลมีหลักการอย่างไร

การดูแลคนไข้อุบัติเหตุฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล

ผมมีมีเคสตัวอย่างเป็นเคสสมมุติ

หากเราเป็นทีมกู้ชีพไปรับคนไข้ที่โดนแรงระเบิด

อยู่สถานที่หนึ่งที่ไม่ใช่โรงงาน

พบว่ามีทั้งถังก๊าซออกซิเจน

หรือถังก๊าซอะไรสักอย่างที่มันระเบิดตูมไปแล้ว

และพบมีผู้บาดเจ็บอยู่หนึ่งราย


ในภาพวาดเห็นถังออกซิเจนที่วางระเนระนาด

มีเขม่าควันที่เต็มไปหมด

ถ้าไปจับถังออกซิเจนก็ค่อนข้างจะร้อนทีเดียว

คนไข้ยังมีสติอยู่ ยังกะพริบตาได้

แต่ว่าแขนขาดไปแล้ว ขาขาดทั้งสองข้าง

มีเลือดออกอยู่เต็มพื้น

คนไข้หายใจระรินเหมือนใกล้จะเสียชีวิต


สถานการณ์แบบนี้คำถามแรก คือ

เราควรจะเข้าไปช่วยเหลือคนไข้อย่างไร

อันนี้เป็นหลักสูตรที่เราต้องเรียน

ทั้งหลักสูตรการกู้ชีพนอกโรงพยาบาล

ไม่ว่าจะเป็นกู้ชีพขั้นพื้นฐานหรือขั้นสูง

ก็ต้องมีหลักการ

ถ้าหากว่าเราไม่เรียนอะไรเลย

เราก็จะเข้าไปช่วยคนไข้ต่างๆนานาที่เราคิดได้เอง

โอกาสรอดชีวิตก็จะน้อยลง

จริงมีหลักสูตรที่เรียนนะครับ

แต่วันนี้ผมจะมาคุยให้มันง่ายขึ้นนะครับ


อย่างแรกที่ต้องทำ คือ

หนึ่งสถานการณ์จะต้องมีความปลอดภัยก่อน

เรามั่นใจได้อย่างไรว่าเราจะไม่ประสบเหตุอีกครั้งหนึ่ง


ยกตัวอย่างในเคสนี้ มันมีโอกาสที่มันจะมีการระเบิดซ้ำ

เพราะว่าสถานที่เกิดเหตุ มันไม่ใช่โรงงานอุตสาหกรรม

แต่เป็นถังออกซิเจนที่อยู่ตามตามอาคาร บ้านเรือน

พอระเบิดปุ๊บ มันก็มีโอกาสที่มันจะระเบิดซ้ำอีกรอบ

ซึ่งเราบอกไม่ได้เลยว่าสถานการณ์ปลอดภัยหรือยัง

อย่างที่ผมบอกว่าขณะที่เราไปจับถังออกซิเจน

ยังพบว่าถังมันร้อนอยู่เลย

มันจึงมีโอกาสที่จะระเบิดซ้ำอีกรอบ


ถ้าคิดไปนอกกรอบกว่านี้

เรารู้ได้อย่างไรว่าเหตุการณ์ระเบิด

มันไม่ใช่การก่อการร้าย

ตัวอย่าง เช่น ผมเล่าถึงเหตุการณ์ที่บอสตันมาราธอน

บอสตันมาราธอนเป็นเป็นงานจัดที่อเมริกา

เขามีจัดกิจกรรมวิ่งมาราธอน

ปรากฏว่าคนเข้าไปวิ่งตอนเช้า

สักพักหนึ่งมีการระเบิดตูม

มีนักวิ่งได้รับการบาดเจ็บ

มีขาขาดแขนขาดหมดสติกันเยอะ

แต่ในวินาทีนั้น ทุกคนก็ยังไม่อพยพ

ออกมาจากสถานที่เกิดเหตุ

ภายในเวลาไม่เกิน ห้านาที

ก็มีระเบิดตูมอีกรอบนึง มีคนบาดเจ็บมากขึ้นอีก


จากถานการณ์นี้ สิ่งแรกที่ต้องนึกถึง

คือ เรามั่นใจว่าสถานการณ์ปลอดภัยแล้วหรือยัง

การที่เราเข้าไปช่วยคนไข้เลย

โดยไม่แน่ใจว่ามันจะมีระเบิดลูกที่สอง

กับถังอากาศอีกรอบหนึ่งรึเปล่า

เราอาจจะรับบาดเจ็บได้


แต่ไม่ได้แปลว่าเราไม่ทำอะไรเลย

เราก็ต้องทำสถานการณ์ให้ปลอดภัยก่อน

อย่างเช่น เราจะเรียกหน่วยหนึ่งเพลิง

หรือนักเก็บกู้ระเบิด เป็นต้น


เอาเป็นว่าสถานการณ์ในภาพวาดนี้

เราคิดว่ามันปลอดภัยระดับหนึ่ง

เราเห็นว่ามันไม่มีไฟลุกไหม้แล้ว

และที่ระเบิดไปแล้ว ก็ดูสงบดี

เราจะเข้าไปช่วยคนไข้โดยเอาออกมาด้วยวิธีไหนดี

จะยกออกมาเลยดีหรือไม่

หรือว่าจะต้องดามกระดูกคอก่อนเคลื่อนย้าย

เพราะเรารู้ว่าถ้าเอาคนไข้ออกมาจากสถานที่เกิดเหตุ

โดยที่ไม่ได้ป้องกันกระดูกคอ

มีโอกาสที่กระดูกคอจะหักเลื่อนกว่าเดิมได้

กระดูกคอหักเลื่อนทำให้เขาเป็นพิการตลอดชีวิต


แต่คำถาม คือ สถานการณ์แบบนี้มันปลอดภัย

ขนาดนั้นไหมขนาดนั้นไหม

ถ้าบอกว่ามันไม่มีควันแล้ว มันจะไม่ระเบิดซ้ำ

แต่ก็ไม่แน่ครับ


ดังนั้นการเคลื่อนย้ายคนไข้อย่างรวดเร็วจึงมีความสำคัญมาก

เคสนี้จึงควรต้องนำออกมาจากที่เกิดเหตุเลยครับ

เราอาจจะคำนึงถึงเรื่องกระดูกคอน้อยลง


มีคำภาษาอังกฤษ เรียกว่า เซฟไลฟ์-เซฟลิม-เซฟฟังก์ชัน

(save life-save limbs-save function)

ก็คือเรารักษาชีวิตคนไข้และตัวเราผู้ช่วยเข้าให้รอดก่อน

แล้วก็ต่อมาดูแลเรื่องของแขนขาไม่ให้พิการ

และสุดท้ายเราหวังให้การทำงานของร่างกาย

กลับมาเป็นปกติ


กลับมาดูที่เคสนี้ ถ้าเราไม่เอาออกมา

จากที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็ว

เขาอาจเสียชีวิตได้จากการระเบิดครั้งที่สอง

พอนำคนไข้ออกมาแล้วจะทำอย่างไรต่อไป

เราต้องคิดว่าคนไข้มีโอกาสที่จะเสียชีวิต

จากอะไรได้บ้าง

ถ้าเราเข้าใจกลไกการระเบิดตูม

ว่าเขาโดนกระแทก หรือกระเด็นออกมา

อาจมีการบาดเจ็บที่ไหนในร่างกายได้บ้าง

ทำให้เรามองเห็นว่าอะไรที่เราควรจะต้องการรักษา

เป็นลำดับหนึ่ง สอง สาม

ซึ่งผมจะได้อธิบายต่อไปในหลักการ

ที่เรียกว่า X-ABCD


คำว่า X ก็คือการห้ามเลือดที่มันด่วนแก่ชีวิต

A ก็คือ การดูแลเปิดทางเดินหายใจ

เพราะถ้าเขาหยุดหายใจหรือว่าทางเดินหายใจอุดกั้น

คนไข้ก็เสียชีวิตทันที


B ก็คือเรื่องของการหายใจ ทรวงอกและปอด

ถ้าเขามีเยื่อหุ้มปอดรั่วอย่างร้ายแรง

เขาตายแน่นอน

เราอาจต้องทำการเจาะระบายลมที่เยื่อหุ้มปอดก่อน


C ก็คือ การช็อกจากการเสียเลือด ความดันโลหิตต่ำ

ชีพจรเบาและเร็ว อาจเพราะยังมี

การเสียเลือดอย่างต่อเนื่อง


D ก็คือ การบาดเจ็บของศีรษะจากกระแทก

กระทบกระเทือนสมองอาจมีอาการหมดสติ

และอาจหยุดหายใจตามมาได้


ถ้าเราไม่ได้เรียนหลักการนี้

เราก็จะรักษาไข้ไปตามความรู้สึก

เราอยากทำอะไรก็ทำ

เราเห็นอะไรเราก็รักษาสิ่งที่เรามองเห็น

เราเห็นเลือดไหล เราก็ห้ามเลือด

แต่เราก็มันมีอีกหลายสิ่งที่เราไม่เห็น

ซึ่งเราละเลยไม่รักษาเขา อย่างเช่น

เราไม่เห็นว่าคนไข้มีเยื่อปอดรั่วร้ายแรง

เราไม่เห็นว่าคนไข้มีเลือดออกในช่องท้อง

เราไม่เห็นว่าเขามีกระดูกอุ้งเชิงกรานที่แตกหัก

เราก็ไม่เริ่มทำการรักษา

โอกาสที่เขาเสียชีวิตในที่เกิดเหตุมีสูงมาก

ถ้าเราไม่ได้เรียนรู้อย่างเป็นระบบ

4 views

Kommentare


bottom of page